เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 4 ก.พ. 2563 บริษัท ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เป็นรายแรกที่มายื่นเอกสารการประมูล 5 จี ขณะที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มาเป็นรายที่ 2 เวลา 11.09 น. ส่วนบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) แจ้งว่าจะเดินทางมายื่นช่วงบ่ายของวันที่ 4 ก.พ.
สำหรับคลื่นที่นำมาประมูล ได้แก่ คลื่น 700 MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต
ใบอนุญาตละ 2×5 MHz ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 440 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 10 งวด งวดละ 10% โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 2,637.6 ล้านบาท และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 1,319 ล้านบาทต่อใบอนุญาต
คลื่น 1800 MHz จำนวน 7 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 2×5 MHz ราคาเริ่มต้น 12,486 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 25 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 3 งวด งวดที่ 1 จำนวน 50% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 2 และ 3 จำนวนงวดละ 25% ของราคาที่ชนะการประมูล โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 4,994.4 ล้านบาท และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 1,873 ล้านบาท ต่อใบอนุญาตโดยผู้ชนะการประมูลจะต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 40% ของประชากร ภายใน 4 ปี และครอบคลุม 50% ของประชากรภายใน 8 ปี
คลื่น 2600 MHz จำนวน 19 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 93 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 7 งวด งวดที่ 1 จำนวน 10% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 2-7 (ปีที่ 5-10) งวดละ 15% ของราคาที่ชนะการประมูล โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 1,862 ล้านบาท และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 280 ล้านบาท ต่อใบอนุญาต โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 50% ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ภายใน 1 ปี และครอบคลุม 50% ของประชากรใน Smart city ภายใน 4 ปี
ส่วนคลื่น 26 GHz จำนวน 27 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 100 MHz ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 22 ล้านบาท การชำระเงินงวดเดียวภายใน 1 ปีหลังจากการประมูล โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 507.6 ล้านบาท และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 64 ล้านบาทต่อใบอนุญาต
การค้นหา (Search) – ในอนาคตการค้นหาอสังหาฯ จะใช้เเผนที่ (Interactive map) เป็นเครื่องมือหลัก และ Fazwaz เป็นบริษัทเเรก ๆ ที่ใส่เครื่องมือนี้ในเว็บไซต์เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถหาบ้านเเละคอนโดในทำเลที่ต้องการได้ง่าย
ส่วนแบ่งตลาด (Market Share) – FazWaz เป็นผู้เล่นใหม่ในตลาดอสังหาฯ เพิ่งก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2558 และเติบโตขึ้นมาอย่างรวดเร็ว แต่ยังถือว่ามีส่วนเเบ่งตลาดตามหลังผู้นำในตลาดอยู่
คะแนน 8.5/10 – FazWaz มีความได้เปรียบด้านนวัตกรรม บริษัทพยายามเปลี่ยนวิธีซื้อขายเเละเช่าอสังหาฯ ในตลาดให้สะดวกมากขึ้น แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่ใช่แพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน แต่ต้องจับตาว่าในอนาคตจะกลายเป็นผู้เล่นที่สร้างการเปลี่ยนแปลงในตลาดได้หรือไม่
ข้อมูล (Data) – Baania
กลายเป็นแพลตฟอร์มที่มีข้อมูลและบทความอสังหาฯ ที่มีประโยชน์มากที่สุดเว็บไซต์หนึ่งในประเทศไทย บริษัทให้ความสำคัญในจุดนี้โดยให้ข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ทำเล และสภาพตลาดโดยรวม
จำนวนอสังหาฯ ที่ลงประกาศ (Inventory) – Baania มีคลังอสังหาฯ ที่ลงประกาศซึ่งอัพเดตให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องมากที่สุดเว็บไซต์หนึ่งในประเทศ โดยทุกโครงการจะมีรีวิว ข้อมูลที่อัพเดต และอื่นๆ
นวัตกรรม (Innovation) – Baania เป็นผู้ริเริ่มนวัตกรรมใหม่ๆ ที่น่าสนใจในตลาด เช่น การประเมินราคาที่เหมาะสม (price estimates) รวมถึงการให้คะแนนทำเล (locaton score) คล้ายกับที่ใช้ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐ เเต่ปรับให้เข้ากับประเทศไทย นวัตกรรมใหม่ๆ หลายอย่างได้ไอเดียจากเว็บไซต์สัญชาติอเมริกัน อย่าง Zillow หรือ Trulia
เน้นที่ภาคเหนือ (North Focus) – Baania เริ่มเปิดตัวจากพื้นที่ภาคเหนือ เเละเน้นอสังหาฯ ในภูมิภาคนี้ แม้ว่า Baania กำลังขยับขยายลงมาภาคกลาง เเต่ยังไม่ได้ส่วนแบ่งมากนักในตลาดสำคัญ เช่นกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ขาดโฟกัส (Unclear Focus) – Baania เป็นทั้งเว็บไซต์ค้นหาอสังหาฯ บริษัทนายหน้า ให้บริการเหมือนธนาคาร การที่พยายามทำทุกๆ อย่างในเวลาเดียวกันอาจทำให้ผู้ใช้สับสนและทำให้ขาดโฟกัสในการดำเนินธุรกิจตามเป้าหมายของบริษัท
คะเเนนรวม 7.5/10 – Baania เป็นเว็บไซต์หนึ่งที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีนวัตกรรมใหม่ๆ แต่เจอกับการเเข่งขันอย่างหนักจาก DDproperty และ DotProperty ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดสูงกว่ามาก แต่หาก Baania สามารถชิงส่วนเเบ่งตลาดได้ อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาดอสังหาฯ ได้เช่นเดียวกัน
กรุงเทพฯ (Bangkok) – Hipflat เป็นเว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักในกรุงเทพฯ Hipflat เป็นคนริเริ่มการค้นหาเป็นโครงการ (search by project) ในประเทศไทย และที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จในด้านการค้นหา และการสร้างแบรนด์ (Branding) ซึ่งทำให้ Hipflat เป็นหนึ่งในผู้เล่นสำคัญในตลาดอสังหาฯ ในภูมิภาคนี้ของประเทศไทย
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป